วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อผลงาน การพัฒนาบุคลากรในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการ 4A TEP MODEL
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้กระบวนการ 4A TEP MODELพัฒนาครูและบุคลากรโรงเรียนอนุบาลเทพสุนทรินทร์ ในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
2. เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการ 4 A TEP MODEL เพื่อพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลาย
วิธีดำเนินการ
การบริหารจัดการสถานศึกษา(4A TEP MODEL) ภายใต้ระบบ คุณภาพ PDCA มีหลักการที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ และมี 6 องค์ประกอบย่อย คือ
1. หลักการ SWOT Analysis เป็นการสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหา จากการวิเคราะห์สภาพจริงของสถานศึกษา และแก้ปัญหาการที่โรงเรียนไม่นำระบบนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียน SWOT
2. หลักการพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA (Plan-Do-Check-Act) เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการ ดําเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น คือวางแผน – ปฏิบัติ – ตรวจสอบ – ปรับปรุง การดำเนินกิจกรรม PDCA อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินการและบทเรียนข้างต้น ทำให้เกิดผลประจักษ์ในการดำเนินการและประโยชน์ที่ได้รับ โดยสรุป ดังนี้
1. เกิดทีมวิชาชีพที่มีคุณภาพอยู่ในระดับทีมร่วมแรงร่วมใจพัฒนาชั้นเรียนอย่างเข้มแข็งจนเกิดแผนการจัดประสบการณ์ที่ถูกศึกษาวิจัยพัฒนาและยกระดับร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ครูเกิดบทเรียนด้วยตนเองจนเกิดการเข้าใจในการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน เข้าใจหลักสูตรสถานศึกษา Active and Green และที่สำคัญ คือ เข้าใจความเป็นครูของตนเองจนมีความสามารถและมีหัวใจในการออกแบบและนำพาการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนอย่างมีความก้าวหน้าตามต้นทุนของครูแต่ละคนและภาพรวมของทีม
2. เกิดกระบวนการหลักในการวิจัยและพัฒนาการยกระดับคุณภาพในการส่งเสริม พัฒนาการผู้เรียน ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของผู้เรียนและองค์ความรู้หรือบทเรียน การพัฒนาทั้งวิชาชีพครูและชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ
3. บุคลากรครูทุกคนที่ร่วมทีมวิชาชีพสะท้อนการเรียนรู้เชิงประจักษ์ผ่านการเปิดชั้นเรียน (Open class) ทุกคน เป็นปรากฏการณ์ที่พิสูจน์ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากชุดความคิดเดิม (Fix mindset) สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นชุดความคิดใหม่ (Growth mindset) ของตนเอง จนกลายเป็นครูที่เป็น Active teacher as Active learner รวมไปถึงการสะท้อนตนเองที่แสดงให้เห็นตนเองและภาคภูมิใจในการเติบโตทางวิชาชีพของตนเองในระดับปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
4. เกิดเครือข่ายและพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Platform) ของโรงเรียนที่สนใจ ร่วมกันนำเสนอแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกันจากชุมชนการเรียนรู้แต่ละโรงเรียน
5. เกิดการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มาจากการศึกษา วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นต้นแบบชั้นเรียนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียนเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะวิถีการเรียนรู้ ของผู้เรียนในชั้นเรียนที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นตามหลักสูตรสถานศึกษา สู่แรงบันดาลใจและขวัญกำลังใจในในการพัฒนาวิชาชีพของทีมครูย่างต่อเนื่อง
4A TEP Model คือ
A 1 ความตระหนัก (Awareness) หมายถึง ความรู้สึก ความเข้าใจคุณค่าหรือเห็น ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้บริหาร คณะครูปฐมวัย คณะกรรมการ สถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของสถานศึกษา
A 2 การบริหาร (Administration) หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมที่ผู้บริหาร และผู้มีสวนเกี่ยวของร่วมกันดำเนินการพัฒนาการศึกษาเพื่อใหบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้
A 3 ความสำเร็จ (Achievement) หมายถึง ผลภาพรวมการดำเนินงานของ โครงการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
A 4 การประยุกต์ (Application) หมายถึง การตรวจสอบประเมินค่าความสอดคลองของความสำเร็จ เพื่อปรับปรุง พัฒนาและ/หรือประยุกตใหเหมาะสมกับแผน ยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
T (Technology) หมายถึง “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” เป็นเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง แปลง จัดเก็บ ประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็น ประโยชน์ เพื่อจะนำไปเผยแพร่ต่อไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ ให้สามารถได้ใช้ผลผลิตนั้น อย่างถูกต้อง ทันเวลาและตรง กับความต้องการ
E (Education) หมายถึง กระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ คุณค่า ความเชื่อและนิสัยวิธีการศึกษามีทั้งการเล่าเรื่อง การทำกลุ่มอภิปราย การสอน การอบรม และการวิจัยทางตรง การศึกษามักเป็นการชี้แนะของผู้ให้การศึกษาแล้วผู้เรียนก็ต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวของเขาควบคู่พร้อมกันไป การศึกษาสามารถจัดแบ่งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อการคิด การรู้สึก หรือพฤติกรรม
P (Program) หมายถึง ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชั่น (application) ที่ครูนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ครูผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับการสอน ประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขายแล้วครูนำมาปรับ ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spread sheet) เป็นต้น