วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ชื่อ : “CBL to a happy classroom” การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็น
ฐานสู่ห้องเรียนแห่งความสุข
จุดประสงค์ :
1) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะด้านการค้นคว้า หาความรู้ ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทพสุนทรินทร์
2) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานโดยใช้นวัตกรรม “CBL to a happy classroom” การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานสู่ห้องเรียนแห่งความสุข ของครูโรงเรียนอนุบาลเทพสุนทรินทร์
การดำเนินงาน
-จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ปฏิบัติงาน
-ศึกษาวิธีการจัดทำแผนการจัดประการณ์การเรียนรู้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creative-based Learning Model (CBL)
-ออกแบบและจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) โดยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทพสุนทรินทร์โดยเลือกหน่วยการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็ก เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ควบคู่ไปกับการลงมือปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
-นำแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครูแต่ละคนออกแบบและจัดทำแล้วมาวิพากย์กันในโรงเรียน เพื่อนำคำแนะนำไปปรับปรุง แก้ไขก่อนนำไปใช้จริงทุกครั้ง
-นำแผนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
ผลการดำเนินงาน
1. เด็กสามารถเรียนรู้โดยใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้ มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะด้าน การค้นคว้า หาความรู้ ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ สามารถสรุปความรู้ได้โดยตนเอง
2. เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ การที่เด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจนั้นย่อมส่งผลให้เด็กใส่ใจกับเรื่องที่เรียน มีความอยากรู้ในเรื่องที่เรียนมากขึ้น ส่งผลให้เด็กตั้งใจที่จะเรียนและลงมือทำกิจกรรมในเรื่องนั้นๆ
3. เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ สังเกตได้จากการที่เด็กให้ความสนใจในกิจกรรม สามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน ได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยได้ทำโดยไม่ต้องกลัวว่าครูจะดุหรือซ้ำเติม เมื่อทำผิดพลาด
4. เด็กกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เนื่องจากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอยู่เสมอ ทั้งการตอบคำถามครู การทำงานกลุ่ม
กับเพื่อนด้วยกัน การที่เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ถูกตีกรอบความคิดจะทำให้เด็กกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
5. เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองได้เหมาะสมกับวัยของตนเอง
6. ครูปฐมวัยมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน